มูลนิธิพระธรรมแสง

แผนงานและโครงการต่างๆ


โครงการส่งเสริมการเรียนการสอน เยาวชนไต
Educational Facilities for Shan Youths

 

syn logo


ชื่อโครงการ (Title of Project) 
โครงการส่งเสริมการเรียนการสอน เยาวชนไต (ไทใหญ่)
ประเภทโครงการ (Type of Project)
โครงการ ส่งเสริมการเรียนการสอน ที่ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง ภาษาไทย, ภาษไต(ไทใหญ่), ภาษอังกฤษ, คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้งต้น และความรู้ความเข้าใจเรื่องสิทธิด้านสุขภาพ, ทางกฎหมาย และ สิทธิ เสรีภาพ ที่แรงงานข้ามชาติ ควรรู้
หน่วยงานที่รับผิดชอบ(OperationUnit)กลุ่มเครือข่ายเยาวชนไตเพื่อการศึกษา, ภายใต้โครง การ มูลนิธิพระธรรมแสง

หลักการและเหตุผล (Justification)
“การศึกษา” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนจะต้องได้รับตามหลักสิทธิมนุษยชน และ “การเข้าถึง การศึกษา” ตามหลักสิทธิมนุษยชนนั้นต้องไม่มีข้อกำหนดอันเป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่อง เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาหรือวัฒนธรรม ซึ่งสิทธิทางการศึกษาที่ยอมรับในทางสากลนั้น รัฐภาคีทั้งหลายรวมถึงประเทศไทยจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพันธกรณี นั่นย่อมหมาย ความว่า บุคคล ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยจะต้องได้รับการปฏิบัติตามสิทธิ์นี้

เมื่อปี 2548 รัฐบาลไทยได้มีนโยบายที่เอื้อต่อการเข้าถึงโอกาส ทางการศึกษาของกลุ่มคนที่ ไม่มี สัญชาติไทย โดยการออกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2548 เรื่องการขยาย โอกาสทาง การศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย มีผลบัง คับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2548 มีหลักการสำคัญคือ ให้จัดการศึกษาแก่บุคคล ที่ไม่ มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร(ผู้ีปัญหาสถานบุคคล)หรือไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งเดิมเคยจำกัดไว้ ให้เฉพาะบางกลุ่ม บางระดับการศึกษา เป็นเปิดกว้าง ให้ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้ทุกระดับ ทุกประเภทการศึกษา หรือพื้นที่การศึกษา (ยกเว้นกลุ่มที่ หลบหนี ภัยจากการสู้รบ จัดให้ เรียนได้ในพื้นที่) รัฐจะจัดสรรงบประมาณ เป็นค่าใช้จ่ายรายหัว ตั้งแต่ ระดับก่อนประถม ศึกษา ถึงมัธยมศึกษา ตอนปลาย ในอัตราเดียวกับเด็กไทย กรณี มีกฎหมายควบคุม เฉพาะ ให้จำกัด พื้นที่อยู่อาศัย สามารถเดินทางไปศึกษาได้ เป็นระยะเวลาตาม หลักสูตรการศึกษาระดับนั้น โดย ไม่ต้อง ขออนุญาต เป็นครั้งคราว (หลักเกณฑ์การออกนอกเขตเป็นไปตามที่ กระทรวงมหาดไทย กำหนด) และเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับหลักฐาน ทางการศึกษา เช่นเดียวกับนักเรียน นัก ศึกษา ที่มี สัญชาติ ไทยทั่วไป

ภายใต้มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว กลุ่มบุคคลที่มีโอกาสในการเข้ารับ การศึกษาไทยอีกกลุ่มหนึ่งก็ คือ กลุ่ม แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา รวมถึงลูกหลานของแรงงานเหล่านี้ แรงงาน ข้ามชาติชาวไต (ไทใหญ่) ก็เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มนี้ด้วย ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังมีแหล่งชุมชนแรงานข้ามชาติชาวไทใหญ่อย่างมากที่ “ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา” ตาม นโยบายดังกล่าวได้ ที่สามารถเข้าถึงได้ก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น แรงงานข้ามชาติ ดังกล่าว ควร จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะให้พวกเขาอ่านออกเขียนได้ เพราะการ อ่านออกเขียนได้จะทำให้มีความรู้พื้นฐานในเรื่องต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันให้ อยู่ดีกินดีได้ แต่จะเห็นว่าความเป็นไปได้ในการเข้าถึง การศึกษาของแรงงานข้ามชาติยังมี น้อยมาก ผลกระทบคือ แรงงานเหล่านี้ส่วนใหญ่มักจะประสบปัญหา ในเรื่องของ ความไม่เข้า ใจ ในกฎหมาย สถานภาพทางกฎหมาย ไม่เข้าใจในภาษาไทย การถูกโกงค่าแรง การมีระยะ เวลาการทำ งาน มาก กว่าที่กฎหมายแรงงานของไทยกำหนดไว้ และการเข้าถึงการบริการ ด้านสุขภาพ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่า นี้ก่อให้เกิดความ ไม่เป็นธรรมต่อแรงงาน ข้ามชาติและก่อให้ เกิดผลกระทบต่อสังคมไทยตามมา

เพื่อให้เป็นการส่งเสริมแก่นโยบายของรัฐส่วนหนึ่งและเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้า ถึงการ ศึก ษาแก่ แรงงานข้ามชาติทั้งเด็กและผู้ใหญ่ของชาวไต(ไทใหญ่) ทาง “กลุ่มเครือขาย เยาว ชนไต เพื่อการศึกษา” โดยภายใต้โครงการ มูลนิธิพระธรรมแสง ซึ่งเป็นองค์กร ดำเนิน งานในด้านการช่วยเหลือผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสองค์กรหนึ่ง จึงตระหนักถึง และได้จัดตั้ง ศูนย์การเรียนการสอนนอกระบบ การจัดการศึกษาเฉพาะวันอาทิตย์ ภายใต้ชื่อโครงการว่า โครงการส่งเสริม การเรียนการสอน เยาวชนไต (ไทใหญ่) ขึ้นมา

วัตถุประสงค์ (Objective)

  • เพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่แรงงานข้ามชาติ
  • เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมนโยบายของรัฐ
  • เพื่อเป็นการส่งเสริมหลักสิทธิมนุษยชน

กลุ่มเป้าหมาย (Target Group)
แรงงานอพยพชาวไทใหญ่ที่เป็นกลุ่มเยาวชนคนงาน อายุระหว่าง 18-30 ปี ในพื้นที่ เขตกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล ไม่ต่ำกว่า 300 ถึง 500 คน ต่อปี
ผลที่คาดหวังจากโครงการ (Expected Development Impact)
แรงงานอพยพชาวไทใหญ่ ที่เป็นเยาวชนคนงาน จำนวนไม่น้อยกว่า 300 คน ในระยะหนึ่งปี จะสามารถ อ่าน เขียน ภาษาไทย ภาษาอังกฤษเบื้องต้นได้ เข้าใจถึงสิทธิทางกฎหมาย สามารถ ใช้คอมพิวเตอร์และ อินเตอร์เน็ต มีโอกาสในการเรียนรู้และ พัฒนาคุณภาพ ชีวิต ของตนเอง ให้ เท่าทันกระแส ICT และมีส่วนร่วมในการ ใช้ประโยชน์และสร้างสังคม แห่งการเรียนรู้ในหมู่ แรงงาน อพยพด้วยกันเอง


การดำเนินงาน (Methodology) 
ปัจจุบันศูนย์การเรียนที่จัดตั้งขึ้น จะมีกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจะแบ่งการเรียนการสอนเป็น ๕ หลักสูตร คือ

  1. การเรียนภาษาไทยเบื้องต้น (ให้อ่านออกเขียนได้)
  2. การเรียนภาษาอังกฤษ (ชั้นกลางและสูงกว่า Intermediate & Upper intermediate) 
  3. การเรียนภาษาไต(ไทใหญ่)เบื้องต้นและทักษะการเขียนระดับกลาง
  4. การเรียนการสอนคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
  5. ให้ความรู้สิทธิแรงงานด้านกฎหมาย และสิทธิมนุษยชน

ผู้บริหาร โครงการ (Executive Committee)

คณะที่ปรึกษา (Advisory Committee) 


พลตำรวจตรี คำรบ ปัญญาแก้ว
พันเอก ทนงศักดิ์ คนองนึก
นายอภิวัฒน์ กมลศุภเธียร
นายศักดิ ท่าอักษร, นายนิกร แสนคำก้อน, 
นาย โสภิส กันน๊ะ, นายอุดม อินสุวรรณ, 
นายจายน้อง น้องแสง 

ผู้อำนวยการ (Director) นายอัครวัฒน์ ชุติพัฒน์วรางกูร
ผู้จัดการโครงการ (Project Manager) นายอำนวย ปินตา
ผู้ประสานงาน (Co-coordinator) นายวิทยา รายคำ


คณะผู้ฝึกสอน (Instructor) 

  1. phra Dhammika (English)
  2. Mr.Ravi (English)
  3. นายสุธีร์  อินสอน (Thai)
  4. นายประดิษฐ์ ลุงมู (Basic Computer)
  5. น.ส. ชฏาพร  ปาวรีย์ (Thai)
  6. น.ส. วิมลภัทธ์  ร้อยรัตน์ (Basic Computer)
  7. นายจายเดือน  เก๊ซี
  8. น.ส.หนุ่มทวย (English)
  9. น.ส.คำอู (Art and culture)
  10. นายจายโหลง หนั่นต้ะ (Basic Computer)
  11. นายวิทยา รายคำ(English)
  12. นายพงษ์ศักดิ์  ยุทธนา (Thai)
    นายทะเบียน (Registrar) 
  13. นายสายฟ้า  แสงทิพย์

เวลา และสถานที
เวลา 10.00 น. ถึง 17.00 น. ทุกวันอาทิตย์
สถานที่  ศูนย์ศึกษาปฏิบัติธรรม (วัดใหม่) สาธุประดิษฐ์ ยานนาวา กรุงเทพฯ
ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน ถึง 4 เดือนครึ่ง

ติดต่อถามรายละเอียดได้ที่

  1. 0894021340 นายสุธีร์  อินสอน
  2. 0905596599 นายวิทยา รายคำ
  3. 0898210235 นายสายฟ้า  แสงทิพย์
  4. 0897610232 นายพงษ์ศักดิ์  ยุทธนา
  5. 081-8230864 นายอัครวัฒน์ ชุติพัฒน์วรางกูร

>>> Activies - กิจกรรม

>>> เว็บไซต์กลุ่มเครือข่ายเยาวชนไตเพื่อการศึกษา (Shan Youth Network)

|

 

taiculture.org - your source for study about Tai people